Course Relation

 

                      การสร้างเนื้อหาบน Web-Based Instruction นั้นมิใช่เรื่องง่ายเท่าไรนัก โดยเฉพาะครูผู้สอนที่ยังมือใหม่ ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการเขียนเนื้อหาและผลิตสื่อการสอนด้วยตนเอง หรือแม้กระทั้งครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเขียนเนื้อหาและผลิตสื่อก็ตามที มิได้หมายความว่าท่านจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเขียนเนื้อหาได้ไปหมดทุกเรื่อง  อินเทอร์เนตมีข้อมูลเนื้อหาและสื่อการเรียนการสอนมากมายที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับวิชาเราได้บ้าง ไม่มากก็น้อย การสร้างความสัมพันธ์การฐานข้อมูลเนื้อหาเหล่านี้ จะอำนวยความสะดวกสบายต่อการสอนของวิชาเรามาก โดยที่ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชี่ยวชาญในการเขียนเนื้อหาทุกเรื่องไป 

                       ก่อนอื่นจะทำการสร้างความสัมพันธ์เนื้อหาหลักสูตร (Course Relation) เราจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาของเราก่อน (Course Analysis)เพื่อทำการแบ่งเนื้อหา (Mapping) โดย แนวทางการแบ่งเนื้อหาสามารถทำได้ตามภาพข้างล่างนี้

                       การวิเคราะห์เนื้อหาเรามักจะเริ่มที่พิจารณาในคำอธิบายรายวิชา จากนั้นก็จัดแบ่งเป็น วัตถุประสงค์การเรียนตามทักษะของรายวิชาที่กำหนดไว้ โดยยึดตามหลักการกำหนดวัตถุประสงค์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของวัตถุประสงค์การเรียน ซึ่งจะขอกล่าวพอสังเขป ดังนี้

                       1. พุทธพิสัย (Cognitive Domain) หมายถึงความรู้ความเข้าใจการจดจำในเนื้อหา
                       2. จิตพิสัย (Effective Domain) หมายถึงความทราบซึ้งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

                       3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) หมายถึงทักษะการฝึกหัด ของร่างกาย

                       เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วเราก็มาทำการแบ่งเนื้อหากัน การแบ่งเนื้อหา เรามักจะยึดวัตถุประสงค์การเรียนเป็นหลัก เช่นวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 อาจครอบคลุมเนื้อหาได้ 2 -3 บทเรียน หรือมากกว่านั้นก็ได้ 

                       เมื่อแบ่งเนื้อหาเป็นบทเรียนต่างๆแล้ว ในบทเรียนนั้นเรายังแบ่งเป็นตอนเรียนต่างๆอีก หากเราพบว่าในตอนเรียนยังมีเนื้อหามากจนเกินไปเราก็สามารถ แบ่งเป็นเรื่องย่อยต่างๆได้ ดังภาพข้างบน จากที่เราได้ทำการวิเคราะห์จัดแบ่งเนื้อหาได้เรียบร้อยแล้วเราก็มาทำการสร้างความสัมพันธ์เนื้อหา (Course Relation) ดังตัวอย่าง แบบวิเคราะห์เพื่อสร้างความสัมพันธ์เนื้อหา (Course Relation) ข้างล่างนี้

ตัวอย่างแบบวิเคราะห์เพื่อสร้างความสัมพันธ์เนื้อหา (Course Relation)

บทเรียน
ที่ 1

   

บทเรียน
ที่ 2 

    บทเรียน
ที่ n
    แหล่งความรู้
ตอนเรียน
ที่ 1
ตอนเรียน
ที่ 2
ตอนเรียน
ที่ n
ตอนเรียน
ที่ 1
ตอนเรียน
ที่ 2
ตอนเรียน
ที่ n
ตอนเรียน
ที่ 1
ตอนเรียน
ที่ 2
ตอนเรียน
ที่ n
URL

 

     

    www.course1.com
                  www.course2.com
     

        www.course3.com
                  www.course4.com
         

      www.course5.com
             

www.course6.com

 

                         แหล่งข้อมูล URL ต่างๆที่มีเนื้อหาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบทเรียนวิชาของเรานั้นมีมากมาย แต่มิได้หมายความว่าจะมีเนื้อหาตรงต่อความต้องการของเราไปหมดทุกเรื่อง เราจำเป็นจะต้องทำการ วิเคราะห์เพื่อสร้างความสัมพันธ์เนื้อหาว่า ข้อมูลที่เราได้มานั้นสามารถนำไปสัมพันธ์กับเนื้อหาใน บทเรียนใด  ตอนเรียนใด หัวเรื่องใด ได้บ้าง การวิเคราะห์ทำได้โดยไม่อยาก ดังตัวอย่างข้างบน โดยเราสามารถทำเครื่องหมายถูกลงบน บทเรียน ตอนเรียน ที่เกี่ยวข้องได้เลย

                         อย่างไรก็ตามคงไม่มีแหล่งข้อมูล URL (Web Site) ที่มีความสัมพันธ์ตรงต่อความต้องการครบทั้งรายวิชาที่เป็นบทเรียนของเรา ฉะนั้นเรายังจำเป็นที่จะต้องสร้างเนื้อหา และสื่อการสอนของเราเอง อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับ WBI อื่นๆด้วย


[กลับสู่หน้าหลัก]

สงวนลิขสิทธิ์ http://www.ThaiWBI.com โดย Aj Passkorn Roungrong : webmaster@Thaiwbi.com