การสร้างหน้านำเสนอบทเรียน |
||||||||||||||
จากตอนต่างๆที่กล่าวไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอตอบรับ รายการบทเรียน และ แผนการสอน หากท่านสังเกตุให้ดีท่านจะพบหลักการนำเสนอบนจอภาพโดย Authorware คือ
ซึ่งจะเป็นลักษณะนี้ซ้ำๆไปทุกหน้า หากหน้าบทเรียนของเรามีสักห้าร้อยหน้า มิต้องทำซ้ำห้าร้อยครั้งหรือ ดังนั้นเรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นส่วนนำเสนอบทเรียน ซึ่งใช้เทคนิค Framework มาช่วยลดการทำงานซ้ำๆ ดังกล่าวได้ดีมาก ขั้นตอนมีดังนี้ ขั้นตอน 1. เริ่มจากดับเบิลคลิก Map Icon เข้าสู่บทเรียน ดังภาพ
แล้วท่านจะพบ Level 2 ส่วนการทำงานย่อยของ Map Icon เข้าสู่บทเรียน
และนำ Erase Icon มาวางภายในMap Icon เข้าสู่บทเรียน เพื่อทำการลบหน้าจอรายการบทเรียน จากนั้นเปลี่ยนชื่อ Icon เป็น ลบรายการบทเรียน จากนั้นนำ Framework Icon มาวางบน Flow Line จากนั้นเปลี่ยนชื่อ Icon เป็น "นำเสนอบทเรียน" 2. นำ Display Icon มาวางหลังทางขวา Framework Icon รายการบทเรียน แล้วเปลี่ยนชื่อ Icon เป็นเครื่องหมาย "บทเรียนที่ 1" 3. นำ Display Icon มาวางหลังทางขวา Display Icon บทเรียนที่ 1 แล้วเปลี่ยนชื่อ Icon เป็นเครื่องหมาย "บทเรียนที่ 2 " 4. นำ Display Icon มาวางหลังทางขวา Display Icon บทเรียนที่ 2 แล้วเปลี่ยนชื่อ Icon เป็นเครื่องหมาย "บทเรียนที่ 3 " จากนั้นให้ทำตาม ขั้นตอน 3 และ 4 ตามลำดับจน กว่าจะครบจำนวนบทเรียนที่ ท่านต้องการ 5. ดับเบิลคลิก Display Icon บทเรียนที่ 1แล้วให้พิมพ์ บทเรียน 1 ตอนเรียน 2 ตามลำดับ พร้อมทั้งนำภาพมาประกอบ ตามที่ท่านต้องการลงไป ดังภาพ 6. ให้ท่านทำการดับเบิลคลิกแก้ไข Display Icon บทเรียนที่ 2, 3, และ 4 ตามลำดับจนกว่าจะครบจำนวนบทเรียนที่ท่านต้องการ 7. การทดสอบโปรแกรมท่านไม่จำเป็นต้อง ทดสอบตั้งแต่ต้นทั้งหมด ท่านสามารถเลือกทดสอบ ตรงบริเวณที่ต้องการทดสอบได้เลย โดยการนำธง Start มาวางจุดที่ต้องการทดสอบในที่นี้ให้นำมาวางเหนือ Interaction Icon แสดงรายการบทเรียนจากนั้นกดปุ่ม Restart 8. ท่านจะพบหน้าจอ Properties Erase Icon หมายถึง Erase จะถามว่าเราต้องการจะลบอะไร ในที่นี้ให้ทำการลบหน้ารายการบทเรียน โดยการคลิกบนบริเวณหน้าจอแสดงรายการบทเรียน เสร็จเรียนร้อยแล้วกดปุ่ม OK 9. จากนั้นท่านจะพบหน้าบทเรียนที่ 1 ทางด้านบนขวาจะเป็นเครื่องมือสำหรับ เปลี่ยนหน้าบทเรียน
10. ความหมายของปุ่มควบคุมหน้าจอบทเรียนดังนี้
ในตอนนี้ท่านก็ได้ศึกษาการสร้างหน้าจอการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนไปแล้ว โดยใช้ Frame Work Icon โดยที่เราไม่ต้องคอย ลบหน้าจอเก่า, นำเสนอหน้าจอใหม่, หยุดการนำเสนอหน้าจอปัจจุบัน, และลบหน้าจอปัจจุบัน ดังกล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น Frame Work Icon จึงเป็นเครื่องมือการสร้างหน้านำเสนอบทเรียนที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างดีมาก ในตอนต่อไปเราจะศึกษาการสร้างแบบทดสอบ |
อาจารย์ภาสกร
เรืองรอง Webmaster@ThaiWBI.com
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย พ.ศ.2546
http://www.ThaiWBI.com