Data Processing (การประมวลผลข้อมูล) |
ขั้นการประมวลจากข้อมูลซึ่งได้มาสารสนเทศสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
จากแผนภาพขออธิบายการประมวลผลทางสารสนเทศ โดยขอยกตัวอย่างสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อประกอบการอธิบาย ข้อมูลนำเข้า (Input) ได้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก และแผนการเรียนหรือโปรแกรมการศึกษา ข้อมูลกระบวนการ (Process) ได้แก่ กระบวนการจัดการศึกษา กระบวนการบริหารงานการศึกษา ข้อมูลนำออก (Output) ได้แก่ ประสิทธิผลทางการศึกษา ประสิทธิภาพทางการศึกษา ประสิทธิผลทางการบริหารงานทางการศึกษา ประสิทธิภาพทางการบริหารงานทางการศึกษา จากกระบวนการ (Process) เป็นกระบวนการประมวลผลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ ส่วนใหญ่เรามักจะเข้าใจว่าต้องใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสมอไป อันที่จริงแล้วถ้าข้อมูล (Data) มีไม่มาก เช่นต้องการเก็บข้อมูลนักเรียนจำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยคน เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลก็ได้ดังภาพข้างล่าง แต่หากมีข้อมูล (Data) มากจนไม่สามารถประมวลผลด้วยมือได้ เราก็สามารถนำใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บและประมวลผลได้ ดังภาพ
จากภาพหากมีข้อมูล
(Data) เช่นต้องการเก็บข้อมูลนักเรียนจำนวนหนึ่งพันคนขึ้นไปต้องการประมวลผลที่รวดเร็ว
เราก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บและประมวลผลได้
การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่อการประมวลผลสารสนเทศนั้นมีแนวทางและข้อจำกัดหลายอย่าง
ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเรื่อง Technology ต่อไป ความสำคัญ ข้อมูลและสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญของการตัดสินใจในการบริหารงาน ทั้งในเรื่องการวางแผน (Planning) เรื่องการนำแผนงานออกสู่การปฏิบัติ (Implementation) และในเรื่องการติดตามควบคุมกำกับและประเมินผลงาน (Monitoring Control and Evaluation) และในการบริหารงานขององค์กรโดยทั่วไปนั้น การมีข้อมูลและสารสนเทศที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมกับงานขององค์กรนั้น ๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ข้อมูลและสารสนเทศนั้นก็เอื้อประโยชน์ต่อประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ หน่วยงานหรือองค์กรนั้นก็จะสามารถดำเนินงานของตนได้ผลดี มีประสิทธิผลตามเป้าหมาย
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร
เรืองรอง สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย พ.ศ.2550
http://www.ThaiWBI.com