Chapter 9. Control Structures

             จากบทที่ผ่านมาเราได้ศึกษาถึง Operator การใช้งาน Operator ตัวแปรชนิดของตัวแปรต่างๆ ตลอดจนคำสั่งพื้นฐานการ Disply หรือ Output Process ของ Programes  มาในบทนี้เราจะนำ Control Structures มาควบคุม Operator ตัวแปร และ คำสั่ง ให้เป็นไปตามความต้องการที่เราได้ออกแบบโปรแกรมไว้ สำหรับคนที่เคยเขียน Programes ภาษาใดภาษาหนึ่งมาแล้ว จะสามารถเข้าใจในบทเรียนนี้โดยง่าย หลักการการควบคุม Control Structures นั้น โดยทั่วไปทุกภาษาจะเหมือนกัน หรือที่เราเรียกว่า Logic แต่จะแตกต่างกันที่ รายละเอียดของคำสั่ง

             ในส่วน Control Structures ของ ASPจะไม่แตกต่างจากของ Perl และPHP   หลักการการเขียนการใช้งาน สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้

            คำสั่ง Control Structures แรกที่เราจะศึกษากันก็คือ IF ดังต่อไปนี้

เงื่อนไข IF

              คำสั่ง if เป็นคำสั่งสำหรับสร้างเงื่อนไขการทำงานของโปรแกรมว่า ถ้าเป็นจริงก็จะให้ทำงานงานหนึ่ง ถ้าเป็นเท็จก็จะให้ทำงานอีกงานหนึ่ง               

รูปแบบคำสั่ง

           if เหตุการณ์ Operator เหตุการณ์ then งานที่จะต้องทำ
       end if

ตัวอย่างคำสั่ง

if.asp

<%

name="สมชาย"

if name="สมชาย" then
response.write("สวัสดีครับ")

end if

%>

         ผลลัพธ์

สวัสดีครับ

คำอธิบาย

       กำหนดให้ name มีค่าเท่ากับ สมชาย คำสั่งสร้างเงื่อนไขว่า ถ้า name   เท่า สมชาย ให้พิมพ์คำว่า "สวัสดีครับ"

     แต่ถ้าไม่พบว่า name เท่ากับ สมชาย   ก็จะไม่ทำงานอะไร

 

เงื่อนไข if else

              เป็นคำสั่ง if เหมือนเดิม แต่เพิ่มสถานการณ์ว่า ถ้ามีเหตุการณ์เป็นเท็จเกิดขึ้นจะให้ทำงานอะไร

              

          รูปแบบคำสั่ง

       if เหตุการณ์ Operator เหตุการณ์ then งานที่จะต้องทำ else งานที่จะต้องทำ

ตัวอย่างคำสั่ง

if_else.asp

<%

name="สมศรี"

if name="สมชาย" then
response.write("สวัสดีครับ")
    else
response.write("สวัสดีค่ะ")

end if

%>

ผลลัพธ์

สวัสดีค่ะ

คำอธิบาย

       กำหนดให้ name เท่ากับ สมศรี คำสั่งสร้างเงื่อนไขว่า ถ้า name เท่ากับ สมชาย ให้พิมพ์คำว่า "สวัสดีครับ"
       ถ้าไม่เท่ากับ สมชาย ให้พิมพ์คำว่า "
สวัสดีค่ะ"

 


Copy right Passkorn Roungrong 2000