ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Are Network, LAN)

              เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในสถานที่จำกัด  เพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลและแบ่งกันใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ของการใช้งานในระบบแลน (Local Are Network, LAN)

  • ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่อยู่ใกล้กัน
  • ต้องการแบ่งบันทรัยากรต่างๆเพื่อใช่ร่วมกัน เช่นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์บางชนิดมีราคาสูงมาก
 รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)

          โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย  ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง  โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน  จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ  ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ  เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน  รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
 

โทโปโลยีรูปดาว (Star)

           เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง  ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง  (Center Comtuper)

           เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR)  หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว  หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย  ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมดทั้งภายใน  นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR  จะเป็นแบบ  2  ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้  จึงไม่มีโอกาสที่หลาย ๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน  เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล  เครือข่ายแบบ STAR  เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน  ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย  หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย  และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้
 
 


 

          ข้อเสีย ของเครือข่ายแบบ  STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพง  และถ้าศูนย์กลางเกิดความเสียหายจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้เลย  นอกจากนี้เครือข่ายแบบ STAR  ยังใช้สายสื่อสารมากกว่าแบบ  BUS  และ แบบ RING
 

โทโปโลยีแบบบัส (Bus)

            โทโปโลยีแบบบัสต่างกับโทโปโลยีแบบดาว  ตรงที่แบบดาวเมื่อมีสถานีงานจำนวนมากเท่าใด จำนวนสายสัญญาณก็จะมากขึ้นเท่านั้น

            ในระบบเครือข่าย LAN โทโปโลยีแบบ BUS   นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ  ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย  ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน  ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า  "บัส"  (BUS)เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย  ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ  ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของ ผู้ส่งและผู้รับ  และข้อมูล  การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ  2  ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง  2  ด้านของบัส  โดยตรงปลายทั้ง  2  ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)    ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ  เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก     เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูลอื่น ๆ  ที่เดินทางอยู่บนบัส 

             สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง  2  ข้างของบัส  แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับ บัสจะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่  ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน  แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณขอ้มูลนั้นผ่านไป  จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้  แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี   2  แบบคือ

            แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized)  ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ 

            แบบหนึ่งคือการควบคุมแบบกระจาย  (Distributed)  ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว  ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น

            ข้อเสีย  อย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบ BUS คือการไหลของข้อมูลที่เป็น  2 ทิศทางทำให้ระบุจุดที่เกิดความเสียหายในบัสยาก  และโหนดที่ถัดต่อไปจากจุดที่เกิดความเสียหายจนถึงปลายของบัสจะไม่สามารถทำการสื่อสารข้อมูลได้ แต่โหนดที่อยู่ก่อนหน้าจุดเสียหายจะยังคงสื่อสารข้อมูลได้

โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring)

              เครือข่ายแบบ RING  เป็นการข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน  หรือ RING นั่นเอง  โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ  BUS  ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด  1  เครื่อง  ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ  ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด  และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่  ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน  แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
 

              ข้อดี ของเครือข่ายแบบ  RING  คือผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ โหนดพร้อมกัน  โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล  รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะทำการตรวจสอบเอง ว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่  การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ  RING  จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากโหนดสู่โหนด  จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล

              ข้อเสีย คือ ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย  ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้  และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสารได้  ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละโหนด เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ รีพีตเตอร์จะต้องทำการคัดลอกข้อมูล  และตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูล  อีกทั้งการติดตั้งเครือข่ายแบบ RING  ก็ทำได้ยากกว่าแบบ  BUS  และใช้สายสื่อสารมากกว่า

 ขีดจำกัดในการเชื่อมโยงสายสื่อสาร

             นอกจากรูปแบบของโทโปโลยีจะมีความสำคัญต่อการเลือกรูปแบบของเครือข่ายและการจัดการระบบของเครือข่ายแล้ว  เรายังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของแต่ละโทโปโลยีอีกด้วยเช่น

           -  ความซับซ้อนยุ่งยากในการติดตั้งเชื่อมโยงสายสื่อสาร
           -  ราคาของสายสื่อสาร
           -  ความซ้ำซ้อนในการออกแบบ
           -  การตรวจสอบความผิดพลาดเสียหายในเครือข่าย
           -  การขยายเพิ่มเติมโหนดในเครือข่าย ฯลฯ

           และการรู้ถึงขีดจำกัดของโทโปโลยีของเครือข่าย  LAN  แต่ละแบบย่อมมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน  ขีดจำกัดในการออกแบบเครือข่ายที่ควรคำนึงถึงได้แก่ 

          - ความยาวสูงสุดของแต่ละช่วงสื่อสาร (Segment)  ซึ่งก็คือระยะทางจากปลายเทอร์มินัลด้านหนึ่งของบัส  ถึงปลายอีกด้านหนึ่ง  หรือ  1 รอบวงแหวนการสื่อสาร
          - จำนวนสเตชั่นสูงสุดใน  1 ช่วงสื่อสาร
          - จำนวนช่วงสื่อสารสูงสุดใน  1 เครือข่าย
          - ความยาวสูงสุดของสายสื่อสารทั้งหมดใน  1 เครือข่าย

ตัวอย่าง การคำนวณการหาขีดจำกัดของเครือข่าย  LAN  ในแต่ละแบบ    เครือข่าย LAN แบบ EhterNet  (โทโปโลยีแบบ BUS), ARCnet (โทโปโลยีแบบ TREE)  และ Token-Ring แบบ RING)  ตามลำดับ

ตัวอย่าง สายสื่อสารแบบ  Type N และแบบ RG-58  สามารถรวมกันได้โดยใช้สูตรคำนวณหาความยาวสูงสุดได้ดังนี้คือ

                              (1640-L)/3.28 = t 

            L= ความยาวที่ต้องการ
            t = ความยาวสูงสุดของสาย RG-58
 

Copyright by Passkorn Roungrong